อย. ประกาศรายชื่อเครื่องสำอางอันตราย 23 รายการที่ตรวจวิเคราะห์พบสารห้ามใช้ และอีก 2 รายการจัดเป็นเครื่องสำอางปลอม เตือนให้ระวังอย่าซื้อมาขายหรือใช้ เพราะไม่ปลอดภัย อาจทำให้แพ้ ระคายเคือง ถึงขั้นเสียโฉม พร้อมเผยแผนเชิงรุกควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้อย่างเข้มงวดตั้งแต่ต้น ทาง
ภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจพบเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้จำนวนมาก และมีการประกาศรายชื่อเครื่องสำอางอันตรายดังกล่าวให้ประชาชนทราบเป็นระยะ เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ซื้อมาใช้นั้น อย. ได้มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านเครื่องสำอางอย่างต่อเนื่องและดำเนินการ ทางกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง ตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิชาญ มีนชัยนันท์ โดยครั้งนี้ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตาม ร้านค้าในเขตกรุงเทพฯ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค พบเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้รวม 23 รายการ มีส่วนผสมของกรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ สารประกอบของปรอท และไฮโดรควิโนน ซึ่งสารห้ามใช้ทั้ง 3 ชนิด ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง และเป็นสาเหตุทำให้ผิวหน้าถึงขั้นเสียโฉม รวมทั้งยังพบเครื่องสำอางอีก 2 รายการมีปริมาณสารสำคัญเกินกว่าร้อยละ 20 ของที่แจ้งไว้บนฉลาก จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม จึงขอเตือนประชาชนอย่าซื้อมาใช้เด็ดขาด สำหรับรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีดังต่อไปนี้
เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนน ได้แก่
(1) โลชั่นปรับสภาพผิวเอสจี (ขายพร้อม Mui Lee Hiang ครีมทาสิวฝ้า) ผลิตโดย บริษัท บูมบิซิเนสส์ จำกัด 59 ถ. โรจนะ ม. 9 ต. วังน้อย อ. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เลขที่ผลิต 01 วันที่ผลิต 12-01-50
(2) มิสเดย์ หน้าเด้ง ขาวใสกระชับ (ครีมแก้ฝ้า) ผลิตโดย บริษัท เนเจอร์เฮิร์บ จำกัด 1218/89 ม. 6 ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เลขที่ผลิต 0012 วันที่ผลิต 090807
(3) วินเซิรฟ์ โลชั่นลดฝ้า-กันแดด ผลิตโดย บริษัท ฟรี เวย ์บิวตี้ จำกัด 21/217 แขวง/เขตบางแค กรุงเทพฯ วันที่ผลิต 07.50
(4) 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน (ครีม)
(5) 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน (โลชั่น) ทั้ง 2 ชนิด ระบุเลขที่ผลิต 010708 วันที่ผลิต 27012005
(6) 3 Tree Days Natural DUO BEAUTY LIGHTENING (โลชั่น) เลขที่ผลิต 010707 วันที่ผลิต 28012005 โดยลำดับที่ 4-6 ผลิตโดย บริษัท ทรีเดย์ (ประเทศไทย) จำกัด 872/1084 ม. 18 บางกะปิ กรุงเทพฯ
(7) พรีม PREAME ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน (ครีมลดริ้วรอย)
(8) พรีม PREAME ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน (โลชั่นป้องกันแสงแดด) ทั้ง 2 ชนิดผลิตโดย บริษัท พรีเม่ กรุ๊ป จำกัด 872/1084 ม. 18 บางกะปิ กรุงเทพฯ เลขที่ผลิต 010706 วันที่ผลิต 25012005
(9) แพน-วี เนเชอรัล ครีม สมุนไพรลดสิว ฝ้า (โลชั่น) ผลิตโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด อีด้าแพน 325/34 กรุงเทพฯ
(10) D White Night Time (ครีมแก้ฝ้า ดีไวท์ ไนท์ไทม์) ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย บริษัท ดีไวท์ เฮอเบอร์ จำกัด 199/4511 บางบัวทอง นนทบุรี วันที่ผลิต 15-03-50
(11) MEDEXT BLEACHING CREAM (บรรจุอยู่ใน MEDEXT BLEACHING SET ชุดแก้ฝ้าปรับสภาพผิว) ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย บริษัท โปรดักส์ พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 105/181 เคหะ-ร่มเกล้า ลาดกระบัง กรุงเทพฯ เลขที่ผลิต 05 วันที่ผลิต 011102
เครื่องสำอางที่ตรวจพบสารประกอบของปรอท ได้แก่
(12) ครีมบัวหิมะ หลิง หลิง รุ่นวันหมดอายุ 04/11/08 และ 11/10/08 เลขที่ผลิต 11/06 รุ่นวันหมดอายุ 09/10/08 เลขที่ผลิต 10/06 และรุ่นวันหมดอายุ 10/10/08
(13) ครีมโสมเหม่ยเซิน (Mei Zhen) เลขที่ผลิต 12/06 ผู้แทนจำหน่ายของทั้ง 2 ยี่ห้อ คือ บริษัท เอสอาร์ วี เทรดดิ้ง จำกัด 117/4 ม. 6 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. สมุทรปราการ
(14) Dr. JAPAN Green Tea Cream & Repair Serum (Green Tea Cream) ผลิตโดย บริษัท บี แอนด์ บี คอสเมติก จำกัด 671/3 บางนา-ตราด บางพลี สมุทรปราการ เลขที่ผลิต 01 วันที่ผลิต 30-01-06
(15) Dr. JAPAN GREEN TEA CREAM
(16) ครีมชาเขียว DR. JAPAN ทั้ง 2 ชนิดผลิตโดย บริษัท โอเรียวชา (ประเทศญี่ปุน่ ) จำกัด จัดจำหน่ายโดย บริษัท บี แอนด ์บี คอสเมติก จำกัด
(17) OEISHI GREEN TEA CREAM & HONEI MEAL (ขายพร้อมสบู่ชาเขียวสครับสูตรสปา OEISHI Classic) ผลิตโดย บริษัท โอเรียวชา (ประเทศญี่ปุน่ ) จำกัด จัดจำหน่ายโดยบริษัท ริช คอสเมติก
(18) OEISHI GOAT MILK & WHITENING ครีมนมแพะ 100% (ตลับฟ้า กลางคืน) ผลิตโดย The cosmetic Club of Thailand วันที่ผลิต 15/6/50
(19) QIAN LI BEI SI (Whitening & Speckle Cream; Night Cream)
(20) QIAN LI BEI SI (Nutitious Repair & Care Cream; Day Cream) ทั้ง 2 ยี่ห้อมีผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย คือ HongKong Qianlitang (International) Beauty care Health Care Product Co., Ltd วันที่ผลิต 2006/09/06
(21) จินเหมยครีมสมุนไพรโสม
เครื่องสำอางที่ตรวจพบกรดเรทิโนอิก ได้แก่
(22) GJ Oriental formula Green Tea Whitening Cream ผู้ผลิต บจก. ไบโอแลนด์ (ประเทศญี่ปุ่น) ผู้แทนจำหน่าย บจก. จีเจ มาร์เก็ตติ้ง
เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก
(23) D White Night Time (โลชั่น- กันแดดดีไวท์) ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย บริษัท ดีไวท์ เฮอเบอร์ จำกัด 199/4511 บางบัวทอง นนทบุรี วันที่ผลิต 15-03-50
เครื่องสำอางที่มีปริมาณ กรดแลคติค เกินกว่าร้อยละ 20 ของที่แจ้งไว้บนฉลาก ได้แก่
(24) PLUS + WHITE COSMECEUTICAL AHA 20% TREATMENT SERUM วันที่ผลิต 120107 และ
(25) PLUS + WHITE COSMECEUTICAL AHA 25% TREATMENT SERUM วันที่ผลิต 100306 ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย บริษัท โปรดักส์ พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 212/283-4 ซ. พัฒนาการ 66 แขวง/เขตประเวศ กรุงเทพฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองรายการเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางปลอม และเนื่องจากมีกรดแลคติคในปริมาณสูงอาจทำให้ผู้บริโภคระคายเคือง หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง จนเกิดอาการอักเสบ และผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง จึงจัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ด้วย
ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่าเครื่องสำอางที่ตรวจพบสารอันตรายบางยี่ห้อจะมีชื่อและที่ ตั้งของผู้ผลิตหรือ ผู้นำเข้าแสดงไว้ที่ฉลาก แต่เมื่อ อย. ไปตรวจมักพบว่าไม่ได้เป็นสถานประกอบการจริง บางแห่งเป็นตึกร้างหรือเป็นบ้านพักอาศัย ดังนั้น หากผู้บริโภคสงสัยว่าเครื่องสำอางที่ ใช้อยู่จะมีสารห้ามใช้หรือไม่
ภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อย. มีมาตรการเชิงรุกในการควบคุมสารเคมีที่เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ และวางมาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสที่จะนำมาลักลอบผสมในเครื่อง สำอาง
ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค